การสอนและการฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานที่พะอ้อกตอยะ

ระบบการฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานที่พะอ้อกตอยะ เป็นไปตามหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตามที่พบในพระไตรปิฎก (พระบาลี)  และ อรรถกถาที่อธิบายไว้    แบบแผนการปฏิบัติธรรมนี้คือ ไตรสิกขา ประกอบด้วย ๓ ส่วนเพื่อการรักษาศีลให้บริสุทธิ์  และ การเจริญสมาธิ  เพื่อเป็นพื้นฐานในการฝึกวิปัสนาปัญญา การเจริญไตรสิกขานี้คือ วิสุทธิ๗  เป็น ๗ ขั้นความบริสุทธิ์ ซึ่งให้วิธีการเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบในการชำระ กายกรรม  วจีกรรม  มโนกรรม ให้บริสุทธิ์จากกิเลส   เพื่อการบรรลุพระนิพพานได้ในชีวิตนี้

กล่าวโดยย่อ หลักการปฏิบัติเริ่มจาก สมถกัมมัฏฐาน  ซึ่งเป็นการเจริญสมาธิให้เกิด อัปปนาสมาธิ หรือที่เรียกว่าฌาน   โยคีผู้ปฏิบัติสามารถจะเลือกวิธีการทำสมถะได้ ๔๐ วิธีตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้   ที่พะอ้อกตอยะโยคีส่วนมากได้ฌานจากการเจริญอานาปานสติ   เมื่อเจริญสมถภาวนาได้แล้ว โยคีผู้ปฏิบัติสามารถฝึกต่อไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน

           อีกทางเลือกหนึ่งคือ โยคีอาจจะไม่ฝึกสมาธิถึงระดับฌาน   โยคีจะได้รับการสอนให้พัฒนาสมาธิ เพียงถึงระดับอุปจาระสมาธิ  โดยการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน ธาตุ ๔ (จตุธาตุววัฏฐาน)  ก่อนที่จะดำเนินการฝึกต่อไปยังวิปัสสนากัมมัฏฐาน   ซึ่งทั้งสองกรณี กำลังสมาธิที่เกิดจากการเจริญภาวนาของโยคีจะผลิต “แสงสว่างแห่งปัญญา”

          เมื่อสามารถเจริญสมาธิถึงระดับฌาน หรือสมถะได้แล้ว   โยคีจะได้รับการสอนวิธีการรักษากัมมัฏฐานที่ได้ฝึกมาแล้วนี้ ด้วยการฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานที่เป็นเครื่องรักษา ๔ ชนิดคือ จตุรารักขกัมมัฏฐาน  ได้แก่

  • เมตตาพรหมวิหาร (การระลึกถึงด้วยความรักความปราถนาดี) 
  • พุทธานุสติ (การระลึกถึงพระพุทธคุณ) 
  • อสุภกัมมัฏฐาน (การระลึกถึงความเป็นปฏิกูลของร่างกาย) 
  • มรณัสสติ (ระลึกถึงความตายที่จักต้องมาถึงตน)

          ต่อจากนั้น  โยคีจะได้รับการสอนแนวทางเพื่อเตรียมสู่การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน  ซึ่งเป็นการใช้  “แสงสว่างแห่งปัญญา”  พิจารณาให้เห็นความจริงใน รูปปรมัตถ์ และ นามปรมัตถ์  เช่นกันด้วยว่าโยคีจะได้รับการสอนให้พิจารณาเหตุและผลของนามรูป คือ ปฏิจจสมุปบาท   ซึ่งหมายถึงการที่โยคีสามารถพิจารณาจำนวนอดีตชาติและอนาคตชาติ  และพิจารณาเหตุซึ่งจะนำไปสู่การปฏิสนธิในภพใหม่  อย่างตรงตามเหตุนั้นๆ ด้วย

          ต่อเมื่อมีการพิจารณาเห็นความจริงของ รูปนาม และเหตุผลของเขา คือ ปฏิจจสมุปบาท แล้วเท่านั้น  โยคีผู้ปฏิบัติได้เช่นนี้ จึงจะมีอารมณ์กัมมัฏฐานในการเจริญวิปัสสนา  การเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน คือการพิจารณาให้เห็นลักษณะ ๓ อย่างคือ ความไม่เที่ยง (อนิจจะ)  เป็นทุกข์ (ทุกขะ)  ความไม่มีตัวตน (อนัตตะ)  ในรูปปรมัตถ์ และ นามปรมัตถ์ ทั้ง อดีต ปัจจุบัน อนาคต  ภายใน ภายนอก  หยาบ ละเอียด  ทราม ปราณีต  ไกล ใกล 

  ด้วยวิธีดำเนินตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค (หนทางสู่ความบริสุทธิ์)  โยคีจะได้รับการสอนที่มีขั้นตอนเป็นไปตามกระบวนการปฏิบัติอย่างละเอียด  ซึ่งจะเป็นการพัฒนา บ่ม วิปัสสนาญาณ   ปัญญาของโยคีจะมีกำลังมากยิ่งขึ้นในแต่ละวิปัสสนาญาณ  และเมื่อรู้ประจักษ์ รูปธรรม นามธรรม ที่เป็นไปใน อดีต ปัจจุบัน อนาคต   การปฏิบัติอยู่เช่นนี้  โยคีจะสามารถ มีความก้าวหน้าไปตามลำดับวิปัสสณาญาน   ซึ่งเป็นบาทฐานสู่การบรรลุพระนิพพาน

            หากว่าโยคีบรรลุพระนิพพาน  โยคีจะได้รับการแนะนำวิธีพิจารณาดูว่า กิเลสใดได้ถูกทำลายตัดขาดไปแล้ว และการบรรลุธรรมในขั้นใดที่เขาได้แล้ว   ด้วยการปฏิบัติต่อไป โยคีจะสามารถทำลายตัดขาดกิเลสได้ทั้งหมด  และสามารถบรรลุความเป็นพระอรหันต์  ซึ่งหมายถึง โยคีผู้ปฏิบัติจะได้รับการสิ้นสุดของการกลับมาเกิด และ การพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

*การให้คำแนะนำกัมมัฏฐานแก่ชาวต่างชาติ    โดยภาษาอังกฤษ และ ภาษาพม่า   เป็น ๒ ภาษาหลัก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอนกัมมัฏฐาน  โปรดศึกษาได้จากหนังสือ “Knowing and Seeing” (ฉบับปรับขยายครั้งที่ ๕)  รจนาโดย ท่านพระอาจารย์ใหญ่พะอ้อกตอยะสยาดอ  และหนังสือ  “Teaching & Training” เป็นหนังสือ สรุปแนวทางการสอนของท่านพระอาจารย์ใหญ่   ซึ่งรวบรวมโดยลูกศิษย์ชาวต่างชาติของท่าน