Pa - Auk Tawya (Thailand)
ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติอ่างทอง
อุปถัมภ์โดยมูลนิธิตามรอยบาทพระศาสดา
ศูนย์ปฏิบัติธรรมนานาชาติอ่างทอง
เป็นหนึ่งในศูนย์ปฏิบัติธรรมสาขาของวัดพะอ๊อกตอยะ (Pa-Auk Tawya Meditation Center) ปฏิบัติธรรมตามแนวคำสอนของพระบรมศาสดา ทั้งสมถะและวิปัสสนา ตามหลักคำสอนคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แนวทางการปฏิบัติ
แนวทางการฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐานที่พะอ้อกตอยะ เป็นไปตามหลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามที่พบในพระไตรปิฎก (พระบาลี) และอรรถกถาที่อธิบายไว้ แบบแผนการปฏิบัติธรรมนี้คือ ไตรสิกขาประกอบด้วย ๓ ส่วนเพื่อรักษาศีลให้บริสุทธิ์ และการเจริญสมาธิ เพื่อเป็นพื้นฐานในการฝึกวิปัสสนา ปัญญา และเจริญไตรสิกขานี้คือ วิสุทธิ ๗ เป็น ๗ ขั้นความบริสุทธิ์ ซึ่งให้วิธีการเป็นขั้นตอนอย่างเป็นระบบในการชำระ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริสุทธิ์จากกิเลส เพื่อการบรรลุพระนิพพานได้ในชีวิตนี้
สื่อธรรมะใหม่ๆ
- หนทางเดียวสู่พระนิพพาน
(พระธรรมเทศนาพระอาจารย์ใหญ่) - ปฏิบัติอานาปานสติให้สำเร็จได้
(พระธรรมเทศนาพระอาจารย์ใหญ่) - การบำเพ็ญบารมีในชีวิตประจำวัน
(พระธรรมเทศนาพระอาจารย์เรวตะ) - ชีวิตเรากำลังแบกภาระอะไร
(พระธรรมเทศนาพระอาจารย์เรวตะ) - ครึ่งชีวิตที่ผ่านมาได้อะไร
(พระธรรมเทศนาพระอาจารย์รุจ โพธิญาณ)
ศูนย์สาขาทั่วโลก
ศูนย์สาขาของพะอ้อก มีอยู่กว่า 40 สาขาทั่วโลก, 29 สาขาอยู่ในประเทศพม่า นอกนั้นอยู่ในประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เนปาล สหรัฐอเมริกา จีน ไต้หวัน และประเทศไทย
ประวัติความเป็นมา
คำถามที่พบบ่อย
นอกเหนือจากโครงการอบรมกัมมัฎฐานระยะสั้นแล้ว ทางศูนย์ยังเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจจะปฏิบัติระยะยาวตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ต้องส่ง ใบสมัคร (ตรงนี้ใส่ link ไปที่ใบสมัคร) หลังจากนั้นทางศูนย์จะส่ง email แจ้งกลับ ในกรณีที่ท่านไม่ได้ใช้อีเมล์ สามารถโทรเข้ามาติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของศูนย์ เพื่อส่งใบสมัครไปให้กรอก และทางศูนย์จะมีจดหมายตอบรับส่งกลับไปแจ้งผลการพิจารณา ทั้งนี้การพิจารณาใบสมัครจะใช้ระยะเวลาราว 2 สัปดาห์ ที่สำคัญท่านควรอ่านข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติของศูนย์ รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ ที่ขึ้นอยู่บนเว็บไซต์เสียก่อน
ทางศูนย์มีพระวิปัสสนาจารย์อยู่ประจำ สามารถบวชชีให้แก่สตรีที่สนใจได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องไปที่ประเทศพม่า โดยให้ดูรายละเอียดของกฎระเบียบ (ใส่ link กฎระเบียบแม่ชี) ในการบวชชีในเว็บไซต์นี้ ส่วนแม่ชี หรือผู้ปฏิบัติธรรมที่สนใจจะเดินทางไปปฏิบัติที่ประเทศพม่า ต้องเข้ามาอยู่ปฏิบัติที่ศูนย์เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน และให้พระวิปัสสนาจารย์พิจารณาคุณสมบัติของผู้ปฏิบัติว่าสมควรจะไปอยู่ปฏิบัติที่ประเทศพม่าหรือไม่
แนวทางการปฏิบัติของศูนย์ฯ มีอานาปานสติ เป็นกัมมัฏฐานหลัก และเมื่อปฏิบัติได้แล้ว พระวิปัสสนาจารย์จะสอนกัมมัฏฐานกองอื่นๆ ให้ ส่วนใหญ่จะสอนกัมมัฏฐานครบทั้ง 40 กอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจตุรารักขกัมมัฎฐาน (กัมมัฎฐานที่เป็นเครื่องรักษา 4 ชนิด)ได้แก่ เมตตาพรหมวิหาร / พุทธานุสติ / อสุภกัมมัฎฐาน / มรณัสสติ
ข้อกังขา : อานาปานปฏิภาคนิมิต มีแสง หรือไม่ ?
สัมภาษณ์พิเศษ โดยกลุ่ม Friends of Sasana1
พระอาจารย์ใหญ่ ท่านเจ้าอาวาสวัดพะเอ้าตอยะ ได้อธิบายไว้อย่างถูกต้องในหนังสือ
“ The Only Way to Realisation of Nibbāna ”
E-book PDF หน้า ๓๖ https://www.paaukthailand.org/en/edhamma/
“ การฝึกกัมมัฏฐาน อานาปานัสสติ จิตได้รับการฝึกฝนพัฒนาให้เจริญขึ้น เมื่อมีสมาธิลึก
สมาธิจิตจะผลิต จิตตชกลาป( อณูรูปธรรมเกิดจากจิต ) จำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แผ่ไปทั่วร่างกาย และ
เหตุเพราะสมาธิจิตนี้ จิตตชกลาป คือรูปกลาปซึ่งเกิดจากจิตเหล่านี้ จะเปล่งแสง มีความสว่างไสว นี่แหละคือสี
เป็นสีของกลาปเหล่านี้
ยังมี เตโชธาตุ คือ ธาตุไฟ ในจิตตชกลาป เหล่านี้
ก็ผลิตกลาป เกิดดับสืบต่อกันเป็นรุ่นใหม่ๆ ขึ้นมาอีก เรียกว่า อุตุชกลาป( รูปกลาป เกิดจากอุตุ )
ซึ่งจะแผ่ออกไป ไม่เพียงในร่างกาย แต่แผ่ออกไปนอกกายโยคีด้วย รูปกลาปเหล่านี้เปล่งแสง และ สว่างไสวด้วย
การ เปล่งแสง และ ความสว่างไสว ของอณูรูปธรรมนับจำนวนไม่ถ้วน คือ จิตตชกลาป และ อุตุชกลาป เหล่านี้ เป็นการผลิต แสงแห่งปัญญา และ อานาปานนิมิต
อานาปานนิมิต เป็นอารมณ์ของอานาปานฌาน แต่นิมิตนี้จะปรากฏ ในเวลาก่อนจะได้ฌาน ด้วยเช่นกัน
นี้เป็นแสงชนิดเดียวกันกับแสงที่ทำให้โยคีผู้ปฏิบัติ มีผิวพรรณผ่องใส และ ดูสว่างๆ และ ช่องทางต่างๆเช่นนัยตา ของโยคีผู้ทำสมาธิลึกมากในระดับฌาน
ด้วยคำอธิบายภาคปฏิบัติ โดยมีหลักฐานอ้างอิงมานี้ ผู้ที่กล่าวว่า
“ ปฏิภาคนิมิต ไม่มีแสง ” จึงเป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกต้อง
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค “ หนทางสู่ความบริสุทธิ์ ”
( 2011 Buddhist Publication Society, 3rd online edition PDF )
E-book PDF หน้า 279 ย่อหน้า 221 ในบท อานาปานสติ
ข้อ ๒๒๑.
“ ในกาลนั้น โยคีไม่ควรใส่ใจไปในนิมิต โดยความเป็นสี หรือ ไม่ควรใส่ใจนิมิตโดยความเป็น ลักขณาทิจตุกกะ ”
ตามหลักฐานที่ยกมานี้ ลองพิจารณาว่า
หากผู้ใดจักกล่าวว่า “ อานาปานปฏิภาคนิมิต ไม่มีสี หรือ อานาปานปฏิภาคนิมิต ไม่มีลักขณาทิจจตุกกะ ” ดังนี้
เหตุใด ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค จึงเตือนผู้ปฏิบัติว่า “ ไม่พึงใส่ใจไปที่สี และ ไม่พึงใส่ใจไปที่ ลักษณะของนิมิต ”
ติดต่อเรา
65/6 หมู่ที่ 7 ตำบล จำปาหล่อ อำเภอเมืองอ่างทอง อ่างทอง 14000
paaukthailand@gmail.com
061 – 835 – 4445